ดูบทความ
ดูบทความสะพายกระเป๋าเป้ผิดๆ พาลให้กระดูกหลังคดตลอดชีวิต
สะพายกระเป๋าเป้ผิดๆ พาลให้กระดูกหลังคดตลอดชีวิต
กระดูกสันหลังคด (scoliosis)
ใครชอบสะพายกระเป๋าเป้เป็นชีวิตจิตใจกันบ้างเอ่ย โดยเฉพาะการสะพายกระเป๋าเป้าข้างเดียว รู้หรือไม่ว่าการสะพายกระเป๋าเป้ข้างเดียวที่หนักมากๆนั้น มีความเสี่ยงที่จะทำให้กระดูกสันหลังคดได้ง่ายๆนะครับ ยิ่งในเด็กวัยเรียนหนังสือที่พบบ่อยมากมักจะสะพายกระเป๋าเป้ข้างเดียว แถมในกระเป๋าก็บรรจุหนังสือ หรือสิ่งของต่างๆจนมีนํ้าหนักมาก ถึงแม้ในวัยผู้ใหญ่จะไม่ได้สะพายกระเป๋าเป้ใดๆแล้วก็ใช่ว่าจะไม่เสี่ยงกับโรคกระดูกสันหลังคดกันนะครับ เพราะพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดกระดูกสันหลังคดที่มักพบได้บ่อยไม่แพ้กันคือ การนั่งไขว่ห้าง นั่นเองครับ
รายละเอียดอธิบายการนั่งไขว่ห้างทำให้หลังคด (อย่านั่งไขว่ห้างนาน ไม่งั้นหลังคดตลอดชีวิต)
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการสะพายกระเป๋าเป้ข้างเดียวก็ดี การนั่งไขว้ห้างก็ดีนั้น จัดอยู่ในภาวะกระดูกสันหลังคดไม่ถาวรเท่านั้น เพียงแค่ปรับเปลี่ยนบุคลิกภาพ หยุดพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะกระดูกสันหลังคด เพียงเท่านี้ภาวะกระดูกสันหลังคดก็หายไปได้ครับ
ภาะเปรียบเทียบกระดูกสันหลังปกติกับสันหลังคด
เรามาทำความรู้จักกับประเภทของกระดูกสันหลังคดกันดีกว่าครับ
1) กระดูกสันหลังคดถาวร (structural scoliosis)
ส่วนท่กทักเป็นมาแต่กำเนิดครับ อาจจะยังไม่เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงชัดเจนมากในวัยทารก แต่เมื่อเด็กเจริญเติบโตขึ้นเรื่อยๆเราถึงจะเห็นการเปลี่ยนแปลงของกระดูกสันหลังที่คดมากขึ้น กว่าร้ายละ 80 นั้นเป็นชนิดที่ไม่ทราบสาเหตุครับ (idiopathic) คือ เกิดมาก็เป็นแบบนี้เลย คาดว่ามีผลมาจากการสร้างกระดูกที่ผิดปกติระหว่างการเติบโตของร่างกาย กล้ามเนื้อ่อนแรงทำงานไม่สมดุลกัน เป็นต้น
นอกจากนี้ อาจเกิดจากความผิดปกติของระบบประสาททำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง(neuropathic) หรืออาจเกิดความผิดปกติของโครงสร้างกระดูกโดยตรง (osteopathic) เช่น กระดูกสันหลังบางข้อเกิดเป็นรูปลิ่ม, เกิดจากการล้มเหลวในการแบ่งแยกปล้องกระดูกสันหลังทำให้กระดูกเจริญเติมโตไม่เท่ากัน ทำให้เกิดภาวะกระดูกสันหลังคดถาวรนั่นเองครับ
2) กระดูกสันหลังคดไม่ภาวร (nonstructural scoliosis, pseudo scoliosis)
ภาวะนี้เกิดได้ทุกช่วงอายุ มักเกิดจากพฤติกรรมของตัวผู้ป่วยเอง คือ ชอบนั่งไชว้ห้าง ชอบนั่งบิดเอี้ยวตัว สะพายกระเป๋าเป้ๆหนักข้องเดียว ชอบยืนเท้าสะเอว เป็นต้น แต่เมื่อปรับเปลี่ยนบุคลิกภาพให้เหมาะสมภาวะกระดูกสันหลังคดก็หายไปได้เองครับ เช่น ชอบสะพายกระเป๋าเป้ข้างเดียวก็เปลี่ยนมาเป็นสะพายสองข้างแทน เพื่อให้การกระจายนํ้าหนักของเป้สมดุลกันทั้งสองฝั่ง เพียงเท่านี้กระดูกสันหลังที่ดูคดอยู่ก็หายไปแล้วครับ นอกจากพฤติกรรมแล้ว อาจเกิดจากตัวโครงสร้างอื่นๆได้ด้วยเช่นกัน ในผู้ป่วยที่ขาสั้นยาวไม่เท่ากันก็ทำให้ดูกระดูกสันหลังคดได้ เพียงแค่ใส่รองเท้าเสริมความสูงในข้างที่ขาสั้นกว่า เท่านี้กระดูกสันหลังก็ตรงเป็นปกติแล้วครับ หรืออาจเกิดจากกล้ามเนื้อหลังหดรั้งจากการบาดเจ็บ ทำให้ผู้ป่วยต้องเอียงตัวตามจึงดูเหมือนมีาภวะกระดูกสันหลังคด เป็นต้น
แต่ในรายที่เป็นกระดูกสันหลังคดถาวรนั้น ต่อให้ยืน นั่งอยู่เฉยๆ หรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมยังไงก็ไม่สามารถทำให้กระดูกกลับมายืดตรงได้ครับ เพราะมันเป็นที่ตัวโครงสร้างของกระดูกสันหลังโดยตรง
อาการของผู้ป่วยกระดูกสันหลังคด
โดยทั่วไปแล้วไม่มีอาการแสดงถึงความเจ็บปวดใดๆครับ แต่จะสังเกตุความผิดปกติได้ดังนี้ เมื่อส่องกระจกไหล่ทั้ง 2 ข้างจะดูสูงตํ่าไม่เท่ากัน, สะโพกดูสูงตํ่าไม่เท่ากันในขณะยืน, แผ่นหลังทางด้านซ้ายและขวานูนไม่เท่ากัน, หน้าอกทั้ง 2 ข้างนูนไม่เท่ากัน, กระดูกสะบ้าทั้ง 2 ข้างอยู่ในตำแหน่งสูงตํ่าไม่เท่ากัน นี่คือวิธีสังเกตุอาการคร่าวๆครับ ซึ่งควรสังเหตุองค์ประกอบหลายๆสั่งรวมกัน เพราะอาการบางอย่างก็มีความคล้ายคลึงกับโรคกนะดูกสันหลังคดได้ เช่น ไหล่ทั้งสองข้างสูงตํ่าไม่เท่ากันนั้น อาจเกิดจากกล้ามเนื้อคอบ่ามีความตึงตัวสูงจากโรคออฟฟิศ ซินโดรมก็ได้ครับ
แต่ในรายที่กระดูกสันหลังคดมากๆเกิน 50 องศาของการคดนั้น จะพบว่าปุ่มนูนกลางกระดูกสันหลัง (spinous process) มีการบิดหมุนดูไม่เท่ากันไปทั้งแนวกระดูกสันหลัง และมีอาการเหนื่อยง่าย หอบ เนื่องจากการที่กระดูกสันหลังคด ทำให้กระดูกซี่โครงไปกดเบียดโพรงในช่องปอดให้เล็กลง ปอดจึงขยายตัวได้ไม่เต็มที่ ความจุปอดจึงลดลง
ภาพแสดงวิธีการตรวจในผู้ป่วยกระดูกสันหลังคด
การตรวจ โรคกระดูกสันหลังคด
การตรวจที่สามารถทำได้เองโดยไม่ต้องใช้เครื่องมือช่วยนั้น ให้ผู้ป่วยยืนขาชิดตรง จากนั้นก้มหลังมือแตะปลายเท้าครับ ถ้าเป็นกระดูกสันหลังคดแบบถาวรจะพบว่าแผ่นหลังข้างซ้ายและขวานั้นสูงตํ่าไม่เท่ากัน แต่วิธีที่เห็นผลชัดแล้วสามารถนำมาวัดองศาของการคดได้คือ การ x-ray ครับ
การรักษา โรคกระดูกสันหลังคด
สำหรับผู้ที่เป็นกระดูกสันหลังคดนั้น ไม่มีวิธีใดที่สามารถทำให้กระดูกสันหลังกลับมาตรงดิ่งเหมือนคนปกติ 100% นะครับ ที่ทำได้คือการคงโครงสร้างของกระดูกสันหลังไม่ให้คดลงไปมากกว่าเดิม โดยการออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลังและลำตัว ซึ่งนักกายภาพจะประเมินท่าออกกำลังกายตามความเหมาะสมของกระดูกสันหลังคดแต่ละประเภท (กระดูกสันหลังคดได้ 2 แบบคือคดแบบเป็นรูปตัว S และคดเป็นรูปตัว C) และแพทย์จะแนะนำให่ brace หรืออุปกรณ์ช่วยผยุงกระดูกสันหลัง เพื่อป้องกันไม่ให้กระดูกสันหลังคดไปมากขึ้นกว่าเดิมนั่นเองครับ แต่ในรายที่กระดูกคดไปมากกว่า 50 องศาแล้ว แพทย์จะพิจารณาการผ่าตัด เพื่อปรับแนวกระดูกสันหลังให้ตรงครับ
ส่วนการออกกำลังกาย ควรเลี่ยงการออกกำลังที่ต้องมีการลงนํ้าหนัก มีแรงกระแทก เช่น การวิ่ง การกระโดดเชือก เป็นต้น เพราะแรงกระแทกจะทำให้กระดูกคดมากขึ้นได้ ควรเปลี่ยนเป็นการออกกำลังกายประเภท weight training หรือการว่ายนํ้าจะเหมาะสมกว่านะครับ
คลิป : วิธีตรวจหลังคด แบบฉบับทำเอง (วิธีตรวจหลังคด แบบฉบับทำเอง ไม่ต้องพึ่ง X-ray)
เครดิตภาพ
- https://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/001241.htm
- http://www.atozenchiropractic.com/scoliosis
- http://newsnetwork.mayoclinic.org/discussion/baby-boomers-and-scoliosis-osteoporosis-is-risk-factor/
- http://www.emed.com.au/the-spinal-connection-scoliosis-explained/
- https://article.shopspotapp.com/ss-article/anello-bag-from-japan/
12 ตุลาคม 2559
ผู้ชม 10930 ครั้ง
แสดงความคิดเห็น