shopup.com

สถิติผู้เข้าชมเว็บ

12643776

ดูบทความเป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นหรอ แค่ว่ายนํ้าก็หายปวดแล้ว

เป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นหรอ แค่ว่ายนํ้าก็หายปวดแล้ว

หมวดหมู่: หลัง ลำตัว


 

เป็นหมอนรองกระดูกทับเส้น  แค่ว่ายนํ้าก็หายปวดแล้ว


ได้อ่านหัวข้อแล้วหลายท่านคงสงสัยใช่มั้ยว่า เป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นแล้วไปว่ายนํ้ามันทำให้อาการปวดหลังลดลงได้ไง?  จริงๆแล้วไม่ต้องถึงกับว่ายนํ้าหรอกครับ แค่ไปเดินโต๋เต๋ในนํ้าความสูงระดับอกก็ถือว่าโอเคแล้วละครับ  ส่วนระยะเวลที่ใช้ก็ 20-50 นาทีเลยครับ ขึ้นอยู่กับความพร้อม และความแข็งแรงของตัวผู้ป่วยเอง  หากผู้ป่วยร่างกายไม่แข็งแรงอาจจะเริ่มต้นให้ลงนํ้าเพียง 20 นาทีก่อนเพื่อไม่ให้ผู้ป่วยเหนื่อยจนเกินไป แล้วเมื่อแข็งแรงมากขึ้นก็ค่อยๆเพิ่มระยะเวลาการอยู่ในนํ้าให้นานขึ้นครับ


ทำไมการลงนํ้า หรือการว่ายนํ้าในสระทำให้อาการปวดของผู้ป่วยลดลง


นั่นก็เพราะว่าเป็นผลมาจาก"แรงดันนํ้า"ครับ อาการหมอนรองกระดูกทับเส้นเกิดจาก ตัวเจลที่อยู่ในหมอนรองกระดูกมันปลิ้นออกมาทับเส้นประสาทที่อยู่ทางด้านหลัง เมื่อผู้ป่วยลงนํ้าที่มีความลึกมากขึ้น จะทำให้แรงดันนํ้าที่อยู่รอบๆตัวเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย โดยเฉพาะความสูงระดับอก แรงดันนํ้าจะช่วยดันเจลที่ปลิ้นออกมาทับเส้นประสาทอยู่ให้กลับเข้าไปในหมอนรองกระดูกสันหลัง อาการปวดหลังของผู้ป่วยจึงเบาลง

 


นอกจากเรื่องของแรงดันนํ้าแล้ว ภายในนํ้ายังมี"แรงลอยตัว"ร่วมด้วย โดยจะสังเกตุได้ว่า ยิ่งเราลงนํ้าที่มีระดับความลึกมากเท่าไหร่ การลงนํ้าหนักที่เท้าทั้งสองข้างจะลดน้อยลงเท่านั้น เพราะแรงลอยตัวเนี่ยแหละครับที่ช่วยพยุงตัวเราให้ลอยขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยที่ปวดหลังมากจนเดินไม่ไหว ผู้ป่วยอัมพาตช่วงล่าง และผู้ป่วยกล้ามเนื้อขาอ่อนแรงที่ต้องการฟื้นฟูเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อขาให้กลับมาแข็งแรงดังเดิม 


ทันทีที่เราลงนํ้าที่มีความลึกระดับอก เราจะรู้สึกว่าเดินลำบาก เดินได้ช้าลง หนืด เป็นต้น แต่สำหรับผู้ป่วยเหล่านี้ทันทีที่ลงนํ้าผู้ป่วยจะรู้สึกได้ทันทีว่าตัวเองกลับมายืนได้อีกครั้งแล้ว (เย้ เย้) ซึ่งช่วยสร้างกำลังใจให้แก่ผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี (กำลังใจนั้นสำคัญมากสำหรับผู้ป่วย) และที่สำคัญก็คือ ผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหวขาได้แม้จะมีกำลังกล้ามเนื้อน้อย (เพราะมีแรงลอยตัวของนํ้าอยู่) จึงถือว่าเป็นการเริ่มตันให้ผู้ป่วยได้ขยับข้อ ป้องกันภาวะข้อติดแข็งที่จะตามมาได้นั่นเองครับผม


วิธีการออกกำลังกายในนํ้า


ในรายที่กำลังกล้ามเนื้อขาอ่อนแรง หรือปวดหลังมากจนเดินลำบากนั้น เราแค่พาผู้ป่วยลงไปยืนในนํ้าที่ความสูงระดับอกเฉยๆก่อนครับ ยังไม่ต้องทำอะไรมาก เพื่อให้แรงดันนํ้าดันเจลที่ปลิ้นออกมากลับเข้าที่จนอาการปวดของผู้ป่วยทุเลาลงจึงเริ่มขึ้นตอนที่ 2 ครับ


ขั้นที่ 2 ให้ผู้ป่วยเดินครับ โดยให้เดินเกาะขอบสระไปเรื่อยๆแล้วคอยบอกให้ผู้ป่วยเดินหลังตรง (ผู้ป่วยหมอนรองกระดูกทับเส้นมักจะเดินก้มหลังเพื่อหลีกเลี่ยงอาการปวด) เมื่อผู้ป่วยเดินได้ดีแล้ว ให้ผู้ป่วยเดินร่วมกับเตะขาไปข้างหน้าสลับกัน เพื่อให้กล้ามเนื้อหลังคลายตัว และเสริมกำลังกล้ามเนื้อขาร่วมด้วยครับ


ขั้นที่ 3 ฝึกย่อเข่าในนํ้า ให้ผู้ป้วยยืนหลังชิดขอบสระ มือเท้าเอวแล้วย่อเข่าลง พยายามให้ผู้ป่วยหลังตรงตลอดนะครับ เพราะหากก้มหลังขณะออกกำลังอาจจะกระตุ้นให้เกิดอาการปวดได้ครัมผม


ขั้นที่ 4 ท่านี้ให้เอามือจับขอบสระ ลอยตัวในท่าควํ่า แล้วตีขา (ขยับเท้าขึ้นลงไปมาเหมือนตอนว่ายนํ้า) ซึ่งท่านี้จะช่วยเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อขาและหลัง แต่ท่านี้จะทำให้หลังแอ่นต้องคอยสังเกตุอาการอยู่ตลอดว่า อยู่ในท่านี้แล้วมีอาการปวดหลังหรือไม่ ถ้ามีควรยกเลิกครับ (การออกกำลังกายที่ดี ไม่ควรมีอาการปวดร่วมขณะออกกำลังนะครับ) 


ทุกๆท่าที่ผมแนะนำไปเป็นแค่ท่าพื้นฐานเท่านั้นนะครับ แต่ก็เพียงพอสำหรับการฟื้นฟูกำลังกล้ามเนื้อและลดปวดได้ในผู้ป่วยที่เป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท และที่สำคัญที่สุดคือ ควรมีญาติๆหรือคนดูแลลงประกบตัวผู้ป่วยอยู่ตลอดเวลาที่ลงนํ้านะครับ เหตุผลก็เพื่อความปลอดภัย เพราะเราไม่รู้ว่าผู้ป่วยอาจจะหมดแรง ขาพับ หรือเป็นตะคริวเมื่อไหร่ (โดยเฉพาะตะคริวนี่พบบ่อยเลยนะ) ปลอดภัยไว้ก่อนดีที่สุดครับผม


เพิ่มเติม

- คลิป VDO อธิบายโรคหมอนรองกระดูกสันหลัง ด้วยลูกโป่งใบเดียว

- บทความอธิบายโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

 

-http://getactivelondon.com/page.asp?section=2713&sectionTitle=Aqua+Aerobics

17 พฤษภาคม 2559

ผู้ชม 42450 ครั้ง

    Engine by shopup.com