ดูบทความ
ดูบทความประคบร้อน VS ประคบเย็น ใช้ต่างกันอย่างไร
ประคบร้อน VS ประคบเย็น ใช้ต่างกันอย่างไร
ประคบร้อน VS ประคบเย็น
ใช้ต่างกันอย่างไร
เชื่อว่าหลายคนคงเคยมีอาการปวด อาการบาดเจ็บที่ส่วนต่างๆของร่างกายกันไม่มากก็น้อย และเมื่อมีอาการบาดเจ็บ การปฐมพยาบาลเบื้ยงต้นเราก็จะนึกถึงการประคบร้อน และประคบเย็นเป็นส่วนใหญ่ แต่ทีนี้มันใช้ต่างกันอย่างไรละ ผมมีคำอธิบายง่ายๆมาครับ
ประคบเย็น
จะใช้ในกรณีที่เกิดการบาดเจ็บฉับพลันทันทีจากการทำกิจกรรมหรือประสบอุบัติเหตุช่วงนั้นเป็นเวลา 7 วันหลังการบาดเจ็บ เช่น นักฟุตบอลที่บาดเจ็บจะมีทีมแพทย์ทำการปฐมพยาบาลในสนาม โดยการนำนํ้าแข็งประคบส่วนที่ปวด หรืออย่างกรณีที่พบได้ในคนทั่วไป คือ ข้อเท้าแพลง ต้องใช้การประคบเย็นเพื่อลดปวด บวม แดงได้
ซึ่งความเย็นนั้นจะไปลดกระบวนการสร้างสารสื่อประสาทที่ลดความเจ็บปวดทำให้อาการปวดลดลง และช่วยลดบวมได้เนื่องจาก ความเย็นจะช่วยให้เส้นเลือดหดตัว เลือดจึงไหลมาที่บริเวณนั้นน้อยลงทำให้อาการบวมน้อยลงตามไปด้วยนั่นเอง ซึ่งช่วยลดโอกาสการเกิดข้อติดจากการบวมได้ในกรณีที่มีการอักเสบที่ข้อต่อ เช่น ข้อเท้า ข้อเข่า เป็นต้น
ประคบร้อน
นั้นเป็นการประคบเพื่อลดปวดได้เช่นเดียวกันกับการประคบเย็น เพียงแต่จะใช้หลังจากเกิดการบาดเจ็บเฉียบพลันไปแล้วอย่างน้อย 7 วัน และที่สำคัญ ต้องไม่มีอาการบวม แดง ร้อนบริเวณที่ปวด ซึ่งการประะคบร้อนจะเหมาะกับอาการปวดตึงของกล้ามเนื้อจากการทำงานหรือเป็นกรณีจากการปวดเรื้อนรังมากกว่า เช่น ในผู้ป่วย office syndrome ที่มีการตึงของกล้ามเนื้อบริเวณคอบ่า เมื่อประคบร้อนนั้นความร้อนจะทำให้หลอดเลือดขยายตัวเพิ่มอัตราการไหลเวียนเลือด ส่งผลให้กล้ามเนื้อรอบๆการคลายตัวอาการปวดจึงลดลงได้นั่นเองครับ
แล้วถ้าประคบร้อนตอนที่อักเสบละจะเกิดอะไรขึ้น ?
ถ้าเราประคบร้อนในจุดที่อักเสบอยู่ มันจะทำให้บริเวณที่อักเสบบวมมากขึ้นครับ เนื่องจากความร้อนจะทำให้หลอดเลือดขยายตัว เมื่อหลอดเลือดขยายตัวจะส่งผลให้เลือดมาหล่อเลี้ยงบริเวณนั้นมากขึ้นจนสังเกตุเห็นสีแดงที่ผิวหนังของเรา ซี่งในกรณีที่เนื้อเยื่ออักเสบอยู่แล้วเราไปให้ความร้อนโดยการประคบร้อนหรือทาเจลร้อน เลือดจะมาคั่งค้างบริเวณนั้นมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันจุดที่อักเสบอยู่นั้นมีหลอดเลือดฝอยบางส่วนเสียหายจากการบาดเจ็บ ทำให้ระบบการไหลเวียนเลือดในจุดที่อักเสบนั้นไหลเวียนไม่ดี เลือดจึงคั่งค้างบริเวณนั้นมากขึ้นจนเกิดอาการบวมในที่สุด
ถ้าเปรียบเทียบหลอดเลือดเป็นถนน หลอดเลือดที่ปกติดีก็เหมือนถนนทางเรียบคุณภาพดีรถวิ่งทำความเร็วได้โดยไม่เกิดการติดขัด แต่ในกรณีที่เกิดการอักเสบที่เนื้อเยื่อของร่างกายทำให้หลอดฝอยบางส่วนฉีกขาด การไหลเวียนเลือดจึงไม่ราบรื่น เลือดก็ยังคงเข้ามาหล่อเลี้ยงเนื้อเยื่อตามปกติ แต่พอจะไหลออกกลับทำได้ไม่ดีจากหลอดเลือดฝอยที่ฉีกขาดจนเกิดการสะสมคั่งค้างของเลือดมากๆเข้าทำให้เกิดการบวมตามมานั่นเอง เฉกเช่นเดียวกับถนนที่พื้นผิวขรุขระมีการปิดจราจรบางเลนทำให้รถวิ่งได้ช้าและรถติดสะสมในที่สุด
ดังนั้น ก่อนการประคบร้อน-เย็นควรสังเกตบริเวณที่ปวดว่ามีอาการ บวม แดง ร้อนหรือไม่และอาการปวดหรืออุบัติเหตนั้นอยู่ในช่วง 7 วันแรกหรือไม่นะครับ
เครดิตภาพ
- http://forebay.plazacool.com/forebay-item-
- http://99u.com/workbook/28861/hot-vs-cold-a-temperature-based-approach-to-conflict-resolution
- http://regionstraumapro.com/post/89961322098
09 เมษายน 2560
ผู้ชม 9472 ครั้ง
แสดงความคิดเห็น