shopup.com

สถิติผู้เข้าชมเว็บ

12649668

ดูบทความโรคพาร์กินสัน อาการสั่นๆหยุดๆที่ควบคุมไม่ได้ แต่รักษาได้ถ้ารู้ตัวเร็ว

โรคพาร์กินสัน อาการสั่นๆหยุดๆที่ควบคุมไม่ได้ แต่รักษาได้ถ้ารู้ตัวเร็ว

หมวดหมู่: นอกเรื่อง

 

โรคพาร์กินสัน (Parkinson disease)

 

เชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่น่าจะรู้จักกับโรคนี้กันมากพอสมควร เพราะเมื่อไปรพ.ก็จะมีการพูดถึงโรคนี้กันบ่อยๆทั้งจากหมอ คนไข้ผู้สูงอายุด้วยกันเอง ใบโบรชัวร์ที่แจกให้อ่าน หรือตามหน้าจอทีวีที่เราจะเห็นคนออกมาพูดถึงโรคนี้อยู่เป็นระยะๆ และโดยส่วนใหญ่เราก็พอจะทราบกันว่า คนเป็นโรคนี้มักจะสั่น เดินช้า ล้มง่าย เจอในผู้สูงอายุซะส่วนมาก เป็นต้น แต่ถ้าถามถึงสาเหตุหรือว่ามันเกิดจากความผิดปกติของร่างกายโดยละเอียด เราอาจจะไม่ทราบกัน ฉะนั้น เรามาทำความรู้จักกับโรคนี้เพิ่มเติมกันสักเล็กน้อยดีกว่า แล้วถ้าที่บ้านใครมีผู้สูงอายุละก็ ควรรู้จักโรคนี้กันไว้นะ เพราะถ้าเรารู้เร็ว รักษาเร็ว ผู้ป่วยจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าคนที่รับรักษาช้าครับ

 

โรคพาร์กินสันเกิดจากสาเหตุอะไร?

 

สาเหตุของโรคพาร์กินสันนั้น เกิดจากเซลล์สมองในส่วนเล็กๆที่มีชื่อว่า substantia nigra เกิดการเสื่อม ซึ่งเจ้า substantia nigra จะทำหน้าที่ผลิตสารสื่อประสาทที่มีชื่อว่า dopamine(โดปามีน) โดยสารสื่อประสาท dopamine นี้จะทำหน้าที่สำคัญคือ ช่วยควบคุมการทำงานของร่างกายให้เป็นไปอย่างราบรื่นและสมดุล ทำให้กล้ามเนื้อและเส้นประสาททำงานประสานสอดคล้องกันได้ดี พูดง่ายๆคือ ไม่เกิดการกระตุกขณะเคลื่อนไหวว่างั้นเถอะ

 

แต่เมื่อไหร่ที่เซลล์สมองส่วน substantia nigra เกิดการเสื่อม พอเซลล์สมองส่วนนั้นเสื่อมผลที่ตามมาก็คือ เซลล์สมองจะผลิตสาร dopamine ได้น้อยลงไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ผลที่ตามมาอย่างเห็นได้ชัดเลยคือ ผู้ป่วยจะมือสั่น ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อหลายๆมัดได้ไม่ดี เคลื่อนไหวร่างกายช้า ควบคุมการทรงตัวได้ไม่ดี เป็นต้น

 

ภาพ ตำแหน่งของสมองส่วน substantia nigra ในส่วนใต้สมอง 

 

แต่เหตุการณ์ดังกล่าวนั้น มันไม่เกิดแบบปุ๊บปั๊บทันทีทันใดหรอกครับ ส่วนใหญ่จะใช้เวลานาน 8-10 ปีกว่าจะเริ่มแสดงอาการ เพราะเซลล์สมองส่วน substantia nigra มันจะค่อยๆเสื่อมครับ โดยเซลล์สมองส่วนนี้ต้องเสื่อมไปถึง 60-80% จึงเริ่มแสดงอาการนะ ซึ่งกว่าจะเห็นอาการชัด ผู้ป่วยส่วนใหญ่ก็อายุ 60 ปีขึ้นไปแล้วครับผม

 

ส่วนสาเหตุที่ทำให้สมองส่วน  substantia nigra มันเสื่อมนั้น ยังไม่สามารถหาสาเหตุได้แน่ชัด แต่สันนิษฐานได้ดังนี้

 

- เกิดจากพันธุกรรม ถ้าผู้ป่วยมีญาต์หรือคนในครอบครัวเป็นโรคพาร์กินสัน ก็จะทำให้มีความเสี่ยงเป็นโรคนี้มากขึ้นถึง 3 เท่า

- เกิดจากสารอนุมูลอิสระไปทำลายเซลล์สมองส่วนนี้

- เกิดจากเซลล์แก่กว่าวัยโดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด

- เกิดจากสภาพแวดล้อม เช่น อยู่ในพื้นที่ที่ใช้ยาฆ่าแมลงเป็นประจำ, เคยได้การกระทบกระเทือนทางสมองโดยตรง เป็นต้น

 

แต่ที่แน่ๆก็คือ โรคพาร์กินสันยังไม่สามารถหาทางป้องกัน หรือพยากรณ์โรคได้ว่าจะเป็นจนกว่าจะเริ่มเห็นอาการนะครับ

 

ภาพ ตำแหน่ง substantia nigra ภาพทางด้านข้าง

 

อาการของโรคพาร์กินสัน

 

ในระยะแรกของผู้ป่วยที่เริ่มมีการเสื่อมของสมองในส่วน  substantia nigra นั้นจะยังไม่มีอาการแสดงที่เด่นชัดจนกว่าเซลล์สมองส่วนนี้จะเสื่อมไปแล้ว 60-80% นะครับ โดยเมื่อเซลล์สมองส่วนนี้เสื่อมมากจนทำให้ผลิตสารสื่อประสาท dopamine ได้น้อยลงจนไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จึงทำให้เกิดอาการได้ดังนี้

 

- มือสั่นขณะอยู่นิ่งๆ แต่เมื่อมีการเคลื่อนไหวร่างกายอาการสั่นจะหายไป พอหยุดเคลื่อนไหวร่างกายอาการมือสั่นก็จะกลับมาเป็นเหมือนเดิม และอาการสั่นที่มือและนิ้วนั้นจะมีท่าทางคล้ายๆกับว่า เรากำลังปั้นยาลูกกลอนอยู่

- เดินก้าวแรกได้ลำบาก เมื่อต้องการเดิน ผู้ป่วยจะรู้สึกว่ากว่าจะยกเท้าก้าวเดินในก้าวแรกๆนั้นทำได้ยากลำบากมาก ทุกอย่างมันดูเชื่องช้าไปหมด แต่พอเดินได้แล้วก็จะหยุดไม่ได้ หรือต้องใช้เวลาสักพักถึงจะหยุดเดินได้ (อธิบายง่ายๆเลยก็คือ ถ้าเดินๆอยู่แล้วจะให้หยุดกึกทันที ผู้ป่วยจะไม่สามารถทำได้ ต้องค่อยๆชะลอจนหยุดเอง เหมือนรถไฟจอดที่ชานชาลา)

- เมื่อผู้ป่วยเดิน จะเดินก้าวขาสั้นๆ แต่เดินถี่ เหมือนเดินซอยเท้า บางรายก็จะเดินถอยหลังก่อนเดินหน้า

- กล้ามเนื้อหดเกร็งค้างทั่วทั้งตัว ตึง มีลักษณะบุกคลิกหลังค่อม คอยื่นอยู่ตลอดเวลา

- เคลื่อนไหวร่างกายได้เชื่องช้า งานประจำวันที่เคยทำได้ก็ทำได้แย่ลง หรือทำไม่ได้เลย

- ควบคุมการทรงตัวได้ลำบาก เสี่ยงต่อการล้มได้ง่ายมาก

- มีปัญหาเรื่องการพูด จะพูดช้า พูดเป็นคำๆ หรือพูดติดอ่าง

- เคี้ยวและกลืนอาหารทำได้ลำบาก จากการทำงานของกล้ามเนื้อและเส้นประสาทที่ทำงานไม่ประสานกัน

- อารมณ์แปรปรวน ซึมเศร้า

- หน้านิ่ง ไม่แสดงอารมณ์ (masked face)

 

การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายของผู้ป่วยพาร์กินสัน

 

การรักษาโรคพาร์กินสัน

 

เนื่องจากปัจจุบันนี้ยังไม่ยาตัวไหนที่ช่วยให้ผู้ป่วยหายจากโรคพาร์กินสันได้อย่างถาวร ที่ทำได้คือการรักษาตามอาการ และชะลอให้อาการแย่ลงอย่างช้าๆ ซึ่งการรักษาหลักๆแล้วคือ การทานยาตามแพทย์สั่งอย่างต่อเนื่อง และการออกกำลังกายประเภทแอโรบิคเบาๆ ซึ่งผมจะอธิบายเพิ่มเติมในเนื้อหาข้างล่างนี้

 

การทำกายภาพในผู้ป่วยพาร์กินสันสำคัญแค่ไหน?

 

การทำกายภาพผู้ป่วยโรคพาร์กินสันถือว่ามีความสำคัญมากครับ เพราะผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะมีปัญหาหลักๆคือ การเคลื่อนไหวร่างกายไม่ดี ล้มง่าย กล้ามเนื้อหดเกร็งค้างจนตึงไม่ทั้งตัว และอาจมีปัญหาเรื่องข้อติดแข็งตามมาอีกด้วย ซึ่งการทำกายภาพจะไปช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ (ช่วยได้มากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับว่าเป็นโรคนี้มานานแค่ไหน กับผู้ป่วยให้ความร่วมมือรึเปล่าด้วยนะ)

 

เช่น ผู้ป่วยมีปัญหากล้ามเนื้อเกร็งค้างมากจนตึงไปทั้งตัว นักกายภาพก็จะไปยืดกล้ามเนื้อเพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัว การหดเกร็งก็จะลดลง เมื่อการเกร็งลดลงแล้ว ผู้ป่วยก็จะเคลื่อนไหวร่างกายได้ง่ายขึ้น ต่อมานักกายภาพจะฝึกเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ฝึกการทรงตัว ฝึกการก้าวเดินให้เดินได้อย่างมั่นคง เป็นต้น

เครื่องออกกำลังกาย air walker 

 

นอกจากเราจะให้นักกายภาพรักษาให้แล้ว เราก้ควรหมั่นบริหารร่างกายตัวเองร่วมด้วยเช่นกัน เช่น การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะส่วนขา เพราะจะเกี่ยวข้องกับการเดิน การฝึกก้าวเดินโดยใช้อุปกรณ์ออกกำลังกายที่สำคัญอย่าง ตัว air walker ถ้าใครเป็นพาร์กินสันหรือมีคนในบ้านเป็นโรคนี้ แนะนำให้ซื้อเครื่อง air walker ติดบ้านไว้เลยครับ หรือจะไปรำไทเก๊กได้ยิ่งดีครับผม

 

ซึ่งการยืดเหยียดร่างกาย หรือบริหารร่างกายนั้น นอกจากจะช่วยให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวร่างกายได้ดีแล้ว ยังช่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อารมณ์ดีขึ้น ความเครียดน้อยลง ลดความเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนต่างๆได้ดี แต่ถึงแม้เราจะรู้สึกดีขึ้นจนใกล้เคียงปกติแล้ว แต่ก็ไม่ควรหยุดทานยานะครับ

 

เครดิตภาพ 

- http://www.absolute-healthcare.co.uk/care-at-home-agency-hampshire-alton-live-in-care/181-why-are-so-many-hiding-parkinson-s-symptoms

- http://economictimes.indiatimes.com/slideshows/tech-life/googles-smart-spoon-liftware-lets-you-eat-without-spilling/meet-anupam-pathak-lift-labs-founder/slideshow/45294922.cms

- https://hifitnessclub.wordpress.com/2013/05/

- https://jp.pinterest.com/explore/substantia-nigra/

- http://www.wikiwand.com/en/Substantia_nigra

- http://news.temple.edu/news/2016-01-19/hodge-brain-trauma-book

 

 

19 มกราคม 2560

ผู้ชม 7317 ครั้ง

    Engine by shopup.com