shopup.com

สถิติผู้เข้าชมเว็บ

12651042

ดูบทความปวดเอว ปวดกระเบนเหน็บ กับโรคแปลกๆที่คนเป็นเยอะ แต่รู้จักน้อย

ปวดเอว ปวดกระเบนเหน็บ กับโรคแปลกๆที่คนเป็นเยอะ แต่รู้จักน้อย


ปวดสะโพกร้าวลงขา (si joint dysfunction syndrome)

ใครบ้างที่มีอาการปวดสะโพกร้าวลงขา แถมมีอาการชาด้วย พอไปหาหมอตรวจ x-ray หลัง หมอดันบอกว่ากระดูกปกติดีไม่ได้เป็นอะไร อ้าว แล้วที่รู้สึกปวดอยู่นี่เป็นอะไรกันละ อาการเหล่านี้ผมได้ยินได้ฟังจากคนไข้ถึงอาการปวดที่ดูเหมือนจะหาสาเหตุไม่ได้ แต่มันมีสาเหตุครับ


โรคปวดสะโพกร้าวลงขา หรือ si joint dysfunction เป็นอีกโรคหนึ่งที่พบได้บ่อยไม่แพ้โรคกระดูกสันหลัง และก็สร้างความสับสนให้กับผู้ป่วยอยู่พอสมควรเพราะกระดูกข้อสะโพกและกระดูกสันหลังนั้นอยู่ใกล้กัน เมื่อมีอาการปวดบริเวณสะโพกและมีชาร้าวลงขาก็จะถูกเหมารวมกันไปว่าเป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นแน่ๆ ฉะนั้น วันนี้เรามาทำความรู้จักกับโรคนี้ให้มากขึ้นกันดีกว่า


เป็นภาวะ sacroiliac joint (กระดูกข้อต่อก้นกบ) มีการเคลื่อนไหวผิดปกติ ซึ่งอาจมีการเคลื่อนไหวน้อยลง หรือมากขึ้น หรือมีการยึด ติด รั้ง เส้นเอ็นอักเสบที่ยึดข้อ มีการเคลื่อนที่ที่ไม่สมดุลกันระหว่างซ้านขวา หรือมีการวางตัวของแนวกระดูกที่ผิดปกติไปจนทำให้เกิดอาการปวดขึ้นนั่นเอง


จุดสีแดง คือจุดที่แสดงอาการปวด
 

สาเหตุของโรค

- ทำงานที่ต้องนั่งเป็นเวลานาน เช่น ขับรถเกิน 4 ช.ม.ติดต่อกัน, นั่งทำงานในท่าเดิมๆนานๆ

- เคยมีประวัติตั้งครรภ์ เพราะขณะที่ผู้หญิงตั้งครรภ์สะโพกจะขยายตัว เส้นเอ็นที่เคยมีความแข็งแรงกระชับก็อ่อนตัวลงจนทำให้ข้อสะโพกมีความมั่นคงน้อยลงและง่ายก็การเกิดอาการปวด
- เคยประสบอุบัติเหตุที่สะโพกโดยตรง เช่น ล้มก้นกระแทก, อุบัติเหตุทางรถยนต์
- ชอบนั่งไขว้ห้างเป็นประจำ
- ชอบบิดตัวให้กระดูกดังกร๊อบๆเป็นนิสัย การทำแบบนี้เป็นประจำจะทำให้เส้นเอ็นและข้อต่อหลวมและมีความมั่นคงน้อยลง จึงง่ายต่อการเกิดอาการปวด
- เล่นกีฬาที่ต้องเหวี่ยง ขว้าง หรือเตะอย่างแรง โดยใช้แขนหรือขาข้างนั้นเป็นประจำ


ลักษณะอาการ


- มีอาการปวดตื้อๆ แหลมๆบริเวณข้อต่อ กระเบนเหน็บ แต่ในรายที่ปวดมากจะปวดร้าวลงขาด้วย

- ปวดตามแนวขอบกางเกงใน
- ปวดมากขึ้นเมื่อให้ยืนขาข้างเดียว หรือเอียงตัวไปด้านข้าง
- ปวดเพิ่มขึ้นทันทีเมื่อเปลี่ยนจากท่านั่งเป็นลุกขึ้นยืน แต่อาการปวดจะทุเลาลงเมื่อเดินไปได้สักระยะ
- บางรายขณะเดินๆอยู่รู้สึกเข่าทรุด ขาพับไปเองทั้งที่ไม่มีอาการปวดก็ได้
- รู้สึกขาอ่อนแรง เมื่อยล้าง่าย
- ไม่มีอาการปวดบริเวณหลัง โดยมากมักปวดตั้งแต่ขอบกางเกงในลงมา
- ไม่มีอาการชา
- หากใส่กระโปรง กระโปรงจะหมุนขณะเดิน 

สำหรับเหตุผลว่าทำไมคนเป็นโรคนี้แล้วกระโปรงถึงหมุนขณะเดิน อ่านคำอธิบายได้ที่ลิงค์นี้เลยครับผม (เดินๆอยู่กระโปรงชอบหมุน ดูดีๆ ไม่แน่คุณอาจเป็นโรคนี้)

การรักษา


การรักษาสำหรับผู้ที่เป็นโรคนี้ ไม่จำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดนะครับ การทานยาอาจช่วยบรรเทาอาการปวดได้บ้างแต่เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ แนะนำให้เข้าทำกายภาพบำบัด หรือไคโรแพรคติกเพื่อจัดแนวกระดูกสันหลังและสะโพกให้อยู่ในแนวที่เหมาะสม และคลายเส้นเอ็นที่หดรั้งมากไปจนกระตุ้นให้เกิดอาการปวดนะครับ 


บางท่านที่ชอบออกกำลังกายก็อาจสงสัยว่า แล้วถ้าออกกำลังกายบริหารกล้ามเนื้อช่วงหลังช่วงสะโพกให้แข็งแรงอาการปวดจะลดลงมั้ย? อันนี้ผมก็ตอบว่าไม่แน่ครับ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงและระยะเวลาที่เป็นว่าเป็นมานานแค่ไหน ถ้าในรายที่ปวดไม่มากแลพพึ่งมีอาการปวดการออกกำลังกาย เล่นเวทเฉพาะส่วนหลังและก้นก็ช่วยส่งเสริมให้เส้นเอ็นและกล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้นและลดอาการปวดได้ แต่ในรายที่อาการรุนแรงแนะนำให้เข้ารับการรักษาดีที่สุดร่วมกับการออกกำลังกายควบคู่กันจะมีประสิทธิภาพมากกว่านะครับ 


ส่วนใครที่ไม่ชอบออกกำลังกายขอนอนให้นักกายภาพรักษาให้อย่างเดียว บอกเลยครับว่าอาจจะหายยากและหายช้าพอสมควร เพราะการรักษาโครงสร้างกระดูกสันหลังและสะโพกให้อยู่ในแนวที่ปกติ ต้องใช้การออกกำลังกายเพื่อให้กล้ามเนื้อมีความแข็งแรงมากเพียงพอที่จะพยุงโครงสร้างกระดูกไว้ได้ ลองคิดตามเล่นๆนะครับ ถ้านักกายภาพจัดกระดูกให้เสร็จสัพ แต่กล้ามเนื้อไม่แข็งแรง ร่วมกับมีพฤติกรรมเดิมๆที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค ต่อให้รักษาดีแค่ไหน ไม่ช้าก็เร็วอาการปวดก็กลับมาเป็นซํ้าได้แน่นอนครับ

 

สำหรับวิธีการรักษาโรคนี้ให้คลิ๊กเข้าที่ไปลิงค์นี้ได้เลยครับผม  https://youtu.be/_w90KdZtP_o

เครดิตภาพ

- http://www.progressiveptinc.com/sacroiliac-joint-dysfunction-si-joint-pain/
- http://hubpages.com/health/Is-the-SI-Joint-the-culprit-of-your-lower-back-pain
- http://www.coastalspineandpaincenter.com/condition/sacroiliac-joint-dysfunction/

04 มกราคม 2561

ผู้ชม 130091 ครั้ง

    Engine by shopup.com