ดูบทความ
ดูบทความไมเกรน VS ออฟฟิศซินโดรม กับวิธีเช็คง่ายๆว่าเราเป็นไมเกรนจริงหรือ?
ไมเกรน VS ออฟฟิศซินโดรม กับวิธีเช็คง่ายๆว่าเราเป็นไมเกรนจริงหรือ?
สวัสดีคร้าบสวัสดี วันนี้ผมจะมาแฉหมดเปลือกกับอาการปวดหัวข้างเดียวอย่างที่เรารู้จักกันในชื่อ "ไมเกรน" ถ้าใครก็ตามที่ทำงานอยู่ดีๆแล้วจู่ๆปวดหัวข้างเดียวตุ้บๆขึ้นมาคาดว่าส่วนใหญ่คงคิดว่าเป็นไมเกรนกันแน่ๆ แล้วรีบไปหาซื้อยาแก้ปวดมาทานกันจนกระเพาะทะลุกันเป็นแถวๆ ผมอยากจะบอกว่าอาการปวดหัวข้างเดียวนั้นไม่ได้มีเพียงแค่ไมเกรนอย่างเดียวนะครับ แต่มีอีกโรคหนึ่งที่คนเป็นกันมากและเมื่อมีอาการรุนแรงก็ทำให้เกิดอาการปวดหัวข้างเดียวได้ใกล้เคียงจนคนไข้หลายต่อหลายคนเข้าใจผิดคิดว่าเป็นไมเกรนมานักต่อนักแล้ว ซึ่งโรคที่ว่านั้นก็คือ โรคออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) นั่นเองคร้าบบ
ทีนี้เรามาแยกประเภคของโรคกันก่อนดีกว่า เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน โดยขอเริ่มจาก...
โรคออฟฟิศซินโดรม (office syndrome)
เมื่อพูดถึงโรคออฟฟิศซินโดรมชาวเมืองอย่างเราๆน่าจะรู้จักกันดี และหลายคนก็น่าจะเป็นกันอยู่ด้วยแน่ๆ แต่จะไม่อธิบายเลยมันก็ข้ามสเต็ปไปนิดนุง งั้นขออธิบายอย่างคร่าวๆละกันนะครับ
มันคืออาการปวดตึงกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ จากท่าทางการนั่งทำงานที่ไม่ถูกต้องโดยเฉพาะงานที่ต้องนั่งหน้าคอม หรืองานที่ต้องเขียนหนังสือติดต่อกันเป็นระยะเวลานานหลายชั่วโมงมั้กๆซํ้าๆกันหลายวัน โดยเฉลี่ยโรคนี้เกิดได้ในทั้งเพศหญิงและชาย แต่ส่วนมากมักเกิดในเพศหญิงมากกว่า เนื่องจากความแข็งแรงและมวลกล้ามเนื้อของเพศชายมีมากกว่าเปอร์เซ็นการเกิดโรคจึงน้อยกว่านั่นเอง
ระยะปวดเริ่มแรก : คือ ปวดตึงคอบ่า เมื่อนั่งทำงานไประยะเวลาหนึ่ง แต่เมื่อเปลี่ยนอิริยาบทยืดแขนยืดขาบิดตัวอาการปวดก็หายไปได้เอง
ระยะปวดปานกลาง : แต่ถ้าเรายังคงไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมระดับความรุนแรงของโรคก็มากขึ้น มากขึ้นนั่นคือ เกิดอาการปวดคอบ่าสะบักร่วมกับมีอาการปวดร้าวลงแขน กล้ามเนื้อบ่าตึง แข็งเกร็งเมื่อใช้นิ้วคลำจะพบก้อนนูนๆอยู่ในกล้ามเนื้อแล้วเมื่อใช้นิ้วกดลงไปที่ก้อนนั้นจะปวดร้าวและแสบจนต้องสะดุ้งซึ่งเรียกเจ้าก้อนนั้นว่า จุดกดเจ็บ หรือ trigger point นั่นเอง ในบางรายอาจปวดร้าวเข้ากกหูจนรู้สึกหูอื้อในบางครั้งได้ work load หรือระยะเวลาในการนั่งทำงานก็ทำได้น้อยลง เช่น ปกตินั่งทำงาน 2 ช.ม.แล้วปวด แต่เมื่อเป็นมากขึ้นอาจจะนั่งทำงาน 40 นาทีแล้วปวดจนต้องลุกมายืดเส้นยืดสายนั่นเองครับ
ระยะปวดสูงสุด : แต่ถ้าเรายังคงฝืนต่อไประดับความรุนแรงสูงสุดก็คือ แต่นแตนแต้น ก็ยังคงมuอาการปวดตึงคอบ่าไหล่เหมือนเดิม(อ้าว) แต่อาการจะรุนแรงมากขึ้น(อ๋อ) ที่ว่าอาการรุนแรงมากขึ้นแจกแจงได้ดังนี้ครับ
- ปวดคอบ่าสะบักและไหล่อยู่ตลอดเวลา แม้ขณะพักก็ยังรู้สึกปวด ร่วมกับมีอาการปวดร้าวลงแขนอย่างชัดเจน ในบางรายอาจร้าวลงไปถึงปลายนิ้วก็มี
- กล้ามเนื้อบ่าข้างที่ปวดนั้นเกิดการเกร็งนูนอย่างเห็นได้ชัด เมื่อส่องกระจกจะพบว่าไหล่ทั้ง 2 ข้างดูไม่เท่ากัน
- กล้ามเนื้อแขนอ่อนแรง เป็นภาวะอ่อนแรงจากอาการปวดเรื้อรังเมื่อออกแรงยกของหนักนิดๆหน่อยๆก็เกิดอาการปวดคอบ่าทันที
- เกิดอาการปวดร้าวเข้ากกหู กระบอกตาจนบางรายรู้สึกตาพร่ามัว และมีอาการปวดร้าวขึ้นศีรษะจนรู้สึกปวดหัวข้างเดียวซึ่งอาการนี้จะคล้ายกับไมเกรนมากจนคนไข้หลายต่อหลายคนเข้าใจผิดคิดว่าเป็นไมเกรนนั่นเอง แต่ถ้าเราหมั่นยืดคลายกล้ามเนื้อ หรือการนวดคอบ่าอาการปวดหัวครึ่งซีกจากโรคออฟฟิศซินโดรมก็จะทุเลาลงเอง ซึ่งจะต่างจากไมเกรนที่ยืดกล้ามเนื้อเท่าไหร่อาการก็ไม่ทุเลาลงหรอกครับ นี่จึงเป็นข้อสังเกตุง่ายๆที่ใช้แยกความแตกต่างของ 2 โรคนี้เลยละครับ
หลังจากอธิบายมาซะยืดยาวคงพอจะเข้าใจโรคออฟฟิศซินโดรมกันมากขึ้นแล้วนะครับ ทีนี้เราไปดูฝั่งของปวดหัวจากไมเกรนกันบ้าง
ไมเกรน (migraine)
และแล้วก็มาถึงโรคที่คนเป็นทรมานสุดชีวิต แต่คนไม่เป็นก็ยากที่จะเข้าใจอย่างอาการปวดหัวไมเกรน ไมเกรนคืออาการปวดหัวครึ่งซีก บางรายอาจปวดวนสลับกันซ้ายบ้างขวาบ้าง แต่โดยส่วนมากมักปวดข้างเดิมตลอดครับ
การปวดหัวไมเกรนนั้นเป็นโรคทางสมองอย่างหนึ่งที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่คาดว่าเกิดจากสารเคมีในสมองไม่สมดุลกัน หรือเกิดจากก้านสมองที่ทำงานผิดปกติไป ส่งผลให้หลอดเลือดไวต่อการกระตุ้นมากเป็นพิเศษ หลอดเลือดจึงหดและขยายตัวผิดปกติ
ลักษณะอาการปวด
- มักปวดศีรษะข้างเดียว ส่วนน้อยที่ปวด 2 ข้างสลับกันซ้ายและขวา เป็นระยะเวลานาน 4-72 ช.ม.
- ปวดเป็นจังหวะตุ้บๆ ตามจังหวะชีพจร
- ในบางรายที่ปวดมากจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย บางรายอาจปวดมากจนต้องลงไปนอนดิ้นกับพื้น
- ปวดมากขึ้นเมื่อเจอแสงวูบวาบ หรือมีการเคลื่อนไหวร่างกาย
วิธีแก้ไมเกรนให้หายเร็วได้ด้วยตนเอง
- เข้านอนให้เร็ว พักผ่อนอย่างเพียงพอเฉลี่ย 6-8 ช.ม.ต่อวัน ควรนอนในห้องที่มืดและห่างไกลจากเสียงรบกวน
- งดเล่นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เมื่อเริ่มมีอาการทันที่ เช่น โทรทัศน์, มือถือ, แท็บเล็ต, คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
- หลีกเลี่ยงที่ๆแสงสว่างจ้ามากๆ เช่น แสงแดด ในกรณีที่เลี่ยงไม่ได้ให้ใส่แว่นกันแดดดีที่สุดครับ
- หลีกเลี่ยงสิ่งที่จะกระตุ้นให้เกิดความเครียดทุกอย่าง
- นวดอโรมาเพื่อให้เกิดการป่อนคลาย แต่ควรหลีกเลี่ยงการนวดที่กระตุ้นให้เกิดความเจ็บปวด
- หมั่นออกกำลังกายอย่างสมํ่าเสมอ เพราะการออกกำลังกายอย่างสมํ่าเสมอจะเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง และขณะที่ออกกำลังกายนั้นร่างกายจะหลั่งสารเอ็นดรอฟินซึ่งเป็นสารแห่งความสุขช่วยลดอาการปวดหัวจากไมเกรนได้ในระดับหนึ่ง
- การนั่งสมาธิก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่บรรเทาอาการปวดศีรษะได้
สรุป ความแตกต่างของอาการปวดศีรษะของทั้ง 2 โรคนะครับ
โรคออฟฟิศซินโดรม :
อาการปวดศีรษะข้างเดียวนั้นเกิดจากการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังแล้วปวดร้าวตามโซนปวดของกล้ามเนื้อแต่ละมัด ซึ่งกล้ามเนื้อที่บ่า (upper trapezius m.) เมื่อตึงตัวมากๆจากการนั่งทำงานหนักจะทำให้เกิดอาการปวดร้าวไปตามแนวคอ เบ้าตา และที่ศีรษะข้างใดข้างหนึ่งของกล้ามเนื้อมัดที่อยู่ฝั่งนั้น จึงมีอาการปวดศีรษะข้างเดียวได้นั่นเอง อาการปวดจะหายไป ถ้าหมั่นยืดกล้ามเนื้อเนื้อที่คอและบ่า ร่วมกับออกกำลังกายบริหารกล้ามเนื้อช่วงบ่าเป็นประจำอย่างสมํ่าเสมอ การนวดกดจุดก็ช่วยลดอาการปวดได้เช่นกัน
ปวดไมเกรน :
เป็นอาการปวดศีรษะข้างเดียวจากความผิดปกติของสารเคมีในสมองไม่สมดุลกัน ซึ่งอาการปวดจะกินระยะเวลานาน และรุนแรงกว่า ไม่สามารถลดอาการปวดได้จากการยืดกล้ามเนื้อหรือการนวด ต้องนอนพักจนกว่าอาการจะหายไปเองครับ
คลิป : วิธีลดปวดคอ บ่า (รวมวิธีลดปวดคอ บ่า จากโรคออฟฟิศ ซินโดรม)
คลิป : วิธีลดปวดไหล่ สะบัก (รวมวิธีลดปวดไหล่ สะบัก จากโรคออฟฟิศ ซินโดรม)
เครดิตภาพ
- http://www.mpfweb.org/tag/head/
12 ตุลาคม 2559
ผู้ชม 7558 ครั้ง
แสดงความคิดเห็น