shopup.com

สถิติผู้เข้าชมเว็บ

12644625

ดูบทความ2 เหตุผลคนเป็นข้อเท้าแพลง ทำไมถึงเป็นซํ้าง๊ายง่าย

2 เหตุผลคนเป็นข้อเท้าแพลง ทำไมถึงเป็นซํ้าง๊ายง่าย


ใครเคยเป็นโรครองชํ้ากันบ้างเอ่ย? ถ้าเคยเป็นติดตามบทความนี้ให้ดีครับ เพราะผู้ที่เคยเป็นข้อเท้าแพลง(ankle sprain) เกือบทุกคนล้วนมีโอกาสเป็นซํ้าได้ง่ายมากๆ จนคุณงงเลยละครับ


ทำไมเป็นข้อเท้าแพลงแล้วถึงเป็นซํ้าง่ายจัง?


ถ้าให้อธิบายแบบกำปั้นทุบดินก็คงตอบว่า "มันเกิดจากเส้นเอ็นที่ข้อเท้าสูญเสียความมั่นคงไป" แต่ถ้าอธิบายละเอียดขึ้นมาอีกนิดก็คือ ภายในเส้นเอ็นของข้อเท้าจะมีเส้นประสาทขนาดเล็กที่ทำหน้าที่รับความรู้สึก และส่งสัญญาณประสาทบอกลักษณะการวางตัวของข้อเท้าว่า ขณะนี้ข้อเท้าบิดมาทางซ้ายอยู่นะ ขณะนี้ข้อเท้ากำลังจิกปลายเท้าอยู่นะ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เราบิดข้อเท้ามากเกินไปจนทำอันตรายต่อเส้นเอ็นที่อยู่รอบๆข้อเท้า


แต่ในขณะเดียวกันสำหรับผู้ที่เป็นหรือเคยเป็นข้อเท้าแพลง(ankle sprain) มาก่อน พอเกิดข้อเท้าแพลงปุ๊บจะทำให้เส้นเอ็นที่หุ้มข้อเท้าบางส่วนฉีกขาด แล้วอย่างที่ได้กล่าวไปว่าภายในเส้นเอ็นก็มีเส้นประสาทขนาดเล็กรวมอยู่ด้วย จึงทำให้เส้นประสาทฉีกขาดด้วยเช่นเดียวกัน หลังการรักษาจนผู้ป่วยไม่รู้สึกถึงอาการปวด อาการอักเสบที่ข้อเท้าแล้ว แต่ผู้ป่วยจะรู้สึกถึงความผิดปกติอยู่อย่างนึงคือ "รู้สึกข้อเท้ามันไม่ค่อยมั่งคงเลย เวลาเดินแล้วรู้สึกเหมือนจะล้มไม่ค่อยมั่นใจในการเดินสักเท่าไหร่"


ซึ่งเกิดจาก 2 กรณีครับ

กรณีที่ 1 : เกิดจากเส้นเอ็นที่ขาดครับ โดยปกติเส้นเอ็นคนเราที่เกาะอยู่ระหว่างกระดูกด้วยกันนั้นจะมีความเหนียว ความแข็งแรงสูงมาก ไม่ยอมยืดง่ายๆ หรือถ้ายืดได้ก็ยืดได้เพียงนิดเดียวเท่านั้น ทีนี้เมื่อกเส้นเอ็นขาดจะทำให้ความแข็งแรง ความเหนียวลดน้อยลง แต่ขณะเดียวกันก็ดันมีความยืดหยุ่นเพิ่มขึ้นแทน ซึ่งไม่ใช่เรื่องดีครับ เพราะจะทำให้ข้อเท้าเรามีความมั่นคงลดลง การทรงตัวไม่ดี เสี่ยงต่อการเกิดข้อเท้าพลิกได้ง่ายมากขึ้น


กรณีที่ 2 : เกิดจากเส้นประสาทภายในเส้นเอ็นที่หุ้มข้อเท้าฉีกขาด ทำให้การส่งสัญญาณประสาทบอกลักษณะการวางตัวของข้อเท้าทำได้ช้าลง เนื่องจากเส้นประสาทมีจำนวนน้อยลง เช่น จากเดิมมีเส้นประสาท 1000 เส้น แต่หลังเกิดเหตุก็เหลือเพียง 500 เส้น ความไวของการส่งสัญญาณประสาทจึงลดลง ในคนทั่วไปเมื่อเดินๆอยู่แล้วรู้สึกเหมือนข้อเท้าจะพลิก มันจะเกิดปฎิกิริยาโต้ตอบเฉียบพลัน(reflex) โดยการเกร็งข้อเท้าทันทีเพื่อไม่ให้ข้อเท้าพลิก หรือปรับตำแหน่งการวางข้อเท้าใหม่ทันที หรือรู้สึกตึงที่ข้อเท้ามากจนเราต้องหาอะไรจับยึดเพื่อไม่ให้ข้อเท้าพลิกนั่นเองครับ


แต่ถ้ารู้สึกว่าจะเกิดข้อเท้าพลิกในคนที่เคยเป็นข้อเท้าแพลงมาก่อน การเกิด reflex ที่ข้อเท้าจะเกิดขึ้นช้ามาก (เพราะความไวข้องกระแสประสาทลดลง) เช่น ถ้าเดินๆอยู่แล้วรู้สึกเหมือนข้อเท้าจะพลิก ปกติจะเกิด reflex ป้องกันไม่ให้ข้อเท้าพลิกได้ แต่การเกิด reflex จะช้ามากกว่าจะรู้ตัวว่าข้อเท้ากำลังจะพลิกแล้วน้าาาา ตุ้บ!! รู้ตัวอีกทีก็คือก็คือตอนที่ข้อเท้าพลิกเรียบร้อยแล้ว หรือไม่ก็เดินๆอยู่แล้วรู้สึกเหมือนจะล้มดื้อๆซะอย่างงั้น


โดยทั่วไปแล้วการเกิดข้อเท้าแพลงมักพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชายนะครับ ส่วนนึงอาจจะเป็นเพราะความแข็งแรงของเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อน้อยกว่าเพศชาย และอีกส่วนนึงก็เกิดจากการใส่รองเท้าส้นสูงเนี่ยแหละครับ เพราะรองเท้าส้นสูงจะมีพื้นที่การวางนํ้าหนักของเท้าน้อย ความมั่นคงในขณะเดิน-ยืนจึงตํ่า หากสาวๆคนไหนที่รู้ว่าเคยเป็นข้อเท้าแพลงมาก่อนแล้วไม่อยากเกิดเหตุซํ้ารอยทำได้ง่ายมากๆเลยครับ นั่นคือ เลิกใส่รองเท้าส้นสูงเสียเถิดแล้วเปลี่ยนมาใส่รองเท้าผ้าใบแทนนะ แต่หากเลี่ยงไม่ได้เพราะสายงานมันบังคับให้ใส่รองเท้าส้นสูงละก็ มีวิธีเดียวครับ ให้ฝึกออกกำลังกายเพิ่มความมั่นคงของข้อเท้าและฝึกความไวในการรับส่งสัญญาณประสาทที่ข้อเท้านั่นเองครับ


วิธีการฝึกเพิ่มความมั่นคงของข้อเท้าดูได้ในลิงค์นี้เลยครับผม (5 เทคนิคบริหารข้อเท้า สำหรับคนเป็นข้อเท้าแพลง)


อ้อ! แล้วขอเตือนไว้อีกเรื่องนึงที่สำคัญมาก มาก มาก มาก หากเกิดข้อเท้าแพลงขึ้นมา ห้ามเด็ดขาดเลย 3 อย่างนี้

1) ห้ามนวด

2) ห้ามใช้ยานวดที่มีฤทธิ์ร้อน

3) ห้ามประคบผ้าอุ่นเด็ดขาด แต่ให้ประคบนํ้าแข็งแทน

 

คลิป VDO สอนการบริหารข้อเท้าให้แข็งแรง (6 เทคนิคบริหารข้อเท้า สำหรับคนเป็นข้อเท้าแพลง จากง่ายไปยาก)
ส่วนเหตุผลว่าทำไมผมถึงห้ามประคบผ้าอุ่นคลิ๊กดูได้ในลิงค์นี้เลยครับ (ประคบร้อน VS ประคบเย็น ใช้ต่างกันยังไง?)

สามารถอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับโรคข้อเท้าแพลงได้ใน (ข้อเท้าแพลงลองได้เป็นแล้ว จะเป็นซํ้าง่ายมาก)


เครดิตภาพ

- http://www.biomotionpt.com/blog/

15 กรกฎาคม 2559

ผู้ชม 5137 ครั้ง

    Engine by shopup.com