shopup.com

สถิติผู้เข้าชมเว็บ

12173698

ดูบทความอาการปวดคอแปลกๆ หลังโดนรถชน

อาการปวดคอแปลกๆ หลังโดนรถชน

หมวดหมู่: คอ

 

ชนเบาๆ  แต่สะท้านไปทั้งคอ

อาการปวดคอแปลกๆ  หลังเกิดอุบัติเหตุที่คนขับรถควรทราบ


หลายคนคงเคยประสบอุบัติเหตุขณะนั่งรถยนต์ เช่น ถูกรถคันหลังชน 
ท้ายรถเรา หลังจากนั้นเราก็รู้สึกปวดบริเวณต้นคอ อาการดังกล่าวเรียกว่า การบาดเจ็บวิพแลช หรือ อาการบาดเจ็บกล้ามเนื้อ เส้นประสาทและ/หรือข้อต่อบริเวณคอ เป็นการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุบริเวณคอ (Whiplash injury)


กลไกการเกิดการบาดเจ็บวิพแลช เนื่องมาจาก เมื่อมีการกระแทกที่ตัวเราหรือที่ตัวรถ ทำให้คอและศีรษะมีการสะบัด เคลื่อนไปด้านหลัง และสะบัดกลับมาข้างหน้าอย่างรวดเร็วทันที คล้ายกับการสะบัดแส้ จึงมีชื่อ Whiplash injury (Whiplash แปลว่า แส้) และเพราะการสะบัดศีรษะทันทีทันใดนั่นเองทำให้เส็นเอ็นและกล้ามเนื้อบริเวณคอถูกดึงกระชากอย่างรุนแรงจนเกิดอาการปวดตามมาในที่สุด


สาเหตุ ที่ทำให้เกิด Whiplash injury


1.ถูกรถชนท้าย เช่น ขณะจอดรถติดไฟแดง

2.เล่นกีฬาที่มีการปะทะ เช่น ชกมวย รักบี้ ฟุตบอล

3.หยุดรถกะทันหัน

4.เล่นเครื่องเล่นผาดโผน เช่น รถไฟเหาะ โรลเลอร์ คอสเตอร์ รถบั๊ม

ซึ่งหลายคนคิดว่าต้องเป็นแรงกระทำที่รุนแรงเท่านั้น แท้จริงแล้วไม่จำเป็นเสมอไป ในบางรายแรงที่กระทำไม่รุนแรงแต่ก็สามารถมีอาการปวดขึ้นมาได้


อาการ ที่พบบ่อยๆจากการบาดเจ็บวิพแลช 


- ปวดศีรษะที่มักปวดข้างเดียว

- เจ็บหรือปวดกล้ามเนื้อคอ แขน ไหล่ โดยเฉพาะขณะเคลื่อนไหว

- เวียนศีรษะ อาจมีคลื่นไส้อาเจียน

- ในบางคนมีปัญหาเกี่ยวกับความคิดและความจำ หูอื้อ หงุดหงิด อยู่ไม่สุขสบาย ชาและเจ็บเหมือนโดนหนามแทงที่แขน หน้า และหัวไหล่ เจ็บกราม ปวดหลัง เจ็บสะโพก และการมองเห็นแย่ลง


การดูแลตนเองในเบื้องต้นหลังจากเกิดการบาดเจ็บวิพแลช ได้แก่ การประคบเย็น การนวด (ไม่ควรนวดแรง) บริเวณคอ ไม่เคลื่อนไหวคออย่างรวดเร็ว เช่น ไม่หันคออย่างรวดเร็ว ไม่หันจนคอบิด ไม่สะบัดคอไปมา อาจทานยาพาราเซตามอลแก้ปวดเป็นครั้งคราว อาจใส่ soft collar พยุงคอไว้ป้องกันการบาดเจ็บเพิ่มเติม และให้สังเกตว่าตนเองมีอาการผิดปกติอะไรบ้าง ซึ่งถ้าพบว่ามีอาการปวดมาก หรือมีอาการชาหรืออ่อนแรงของแขน ก็ควรรีบพบแพทย์


ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วคนที่เป็นโรคนี้มักหายได้เอง ไม่จำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดใดๆเป็นพิเศษ ยกเว้นในผู้ที่มีการชนกันอย่างรุนแรง อาจต้องเข้ารับการ x-ray กระดูกต้นคอ เพื่อตรวจเช็คว่ามีภาวะหมอนรองกระดูกปลิ้นหรือไม่นะครับ

 

http://www.gdhlawfirm.com/blog

 

21 พฤศจิกายน 2559

ผู้ชม 23087 ครั้ง

    Engine by shopup.com