shopup.com

สถิติผู้เข้าชมเว็บ

12140660

ดูบทความไหล่ติด อยู่เฉยๆก็เป็นได้ไง เรามีคำตอบ

ไหล่ติด อยู่เฉยๆก็เป็นได้ไง เรามีคำตอบ


ข้อไหล่ติด (frozen shoulder, adhesive capsulitis)

หากว่าเรากำลังสบายจงยกมือขึ้น ฮึ่บๆโอ้ยๆ ถ้าเราไปเรียนหรือมัมนาที่ไหนแล้วกิดมีคำถามอยากถามครูขึ้นมา แต่ก็ยกถือถามก็ไม่ได้เพราะไหล่ติดพอฝืนยกหน่อยก็เจ็บทั่วไปทั่งหัวไหล่จนต้องขอนั่งหุบแขนนิ่งๆไว้เหมือนเดิมดีกว่า นี่เป็นคำบอกเล่าของคนไข้ที่ผมได้พบเจอคนหนึ่งที่โรคไหล่ติดสร้างความเจ็บปวดและสร้างปัญหาการดำเนินชีวิตอยู่พอสมควร โดยเฉพาะเรื่องของผู้หญิ๊งผู้หญิงอย่างการใส่ยกทรง การจะเอามือไขว้หลังไปติดตะขอเสื้อในนี่ลืมไปได้เลย ก่อนที่จะอารัมภบทกันซะยืดยาว เรามาทำความรู้จักกับภาวะไหล่ติดกันดีกว่า


ภาวะข้อไหล่ติดนั้นเกิดจากเส้นเอ็นหุ้มข้อไหล่อักเสบ ทำให้เส้นเอ็นเหล่านั้นหนาตัวขึ้น และเมื่อเรายกแขนหรือเอามือไขว้หลังจะทำให้เส้นเอ็นถูกยืดและกระตุ้นให้เกิดความเจ็บปวดขึ้น จนทำให้เราไม่กล้ายกแขนขึ้นเหนือศีรษะนั่นเอง แล้วเมื่อเราหลีกเลี่ยงการยกแขน การเคลื่อนไหวหัวไหล่ จะยิ่งทำให้เอ็นรอบข้อไหล่หนาตัวมากขึ้น มากขึ้น องศาการเคลื่อนไหวเราจะยิ่งน้อยลงเรื่อยๆ ทีนี้อย่าว่าแต่จะยกแขนเลยครับ แค่ขยับแขนนิดๆหน่อยๆก็ร้องโอดโอยกันแล้ว 


คุณผู้ชมอ่านมาถึงตรงนี้ก็พอจะจินตนาการออกแล้วว่า การเป็นไหล่ติดมันลำบากขนาดไหน แต่มันไม่จบแค่นั้น่ะสิครับ เมื่อเราหลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวหัวไหล่ หรือการใช้แขนข้างที่เป็นไหล่ติดนั้นเป็นเวลานานเข้า กล้ามเนื้อแขนข้างนั้นก็จะฝ่อลีบลงอย่างช้าๆตามมาอีก สังเกตุได้ง่ายๆเลยว่า แต่ก่อนเราเดินจ่ายตลาดถือข้าวปลาอาหารได้อย่างชิวๆเป็นสิบกิโล แต่เมื่อเป็นไหล่ติดและไม่ค่อยได้ใช้แขนนานๆเข้า แค่เดินถือของนิดๆหน่อยๆก็รู้สึกปวดแขนเมื่อยแขน หรือให้พยายามยกแขนข้างไว้สัก 10 วินาทีก็แทบจะทนไม่ไหวแล้วจ้า


สาเหตุ : แบ่งได้เป็น 2 ประเภท


1) แบบทราบสาเหตุ

มักพบในผู้ป่วยที่เกิดอุบัติเหตุโดยตรงที่หัวไหล่ เช่น โดนกระแทก, เล่นกีฬาที่ต้องใช้การเหวี่ยง การขว้างแรงๆ เป็นต้น พบในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกที่มักไม่ได้เคลื่อนไหวข้อไหวข้อไหล่นานๆ ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดที่หัวไหล่แล้วไม่ยอมเคลื่อนไหว 

2) แบบไม่ทราบสาเหตุ

มักพบในผู้หญิงอายุ 40 ปีขึ้นไป ซึ่งจู่ๆก็รู้สึกปวดหัวไหล่โดยไม่ทราบสาเหตุ ทั้งๆที่ไม่มีประวัติว่าเคยประสบอุบัติเหตุใดๆทั้งสิ้น อาการเริ่มแรกจะรู้สึกปวดบริเวณข้อไหล่ เมื่อพยายามยกแขนจะรู้สึกปวดแต่ก็ยังยกแขนได้เต็มช่วงการเคลื่อนไหว และเมื่อผ่านไประยะเวลาหนึ่งอาการปวดก็ยังคงอยู่แต่ผู้ป่วยไม่กล้ายกแขนแล้วเพราะกลัวจะเจ็บ หลังจากผ่านไปไม่กี่วันจะพบว่า จากเดิมที่มีแค่เจ็บปวดเพียงอย่างเดียว ผู้ป่วยจะรู้สึกตึงกล้ามเนื้อรอบๆข้อไหล่ร่วมด้วยเมื่อยกแขน และจึงเป็นที่มาของภาวะข้อไหล่ติดนั่นเองครับผม (ถ้าใครรู้สึกเริ่มมีอาการเจ็บๆตึงๆที่ไหล่ละก็ แนะนำให้หมั่นแกว่งแขนยกแขนบ่อยๆเลยครับ แม้จะปวดบ้างก็ควรทำครับ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะไหล่ติดได้)


อาการ


- รู้สึกปวดตึงที่บริเวณหัวไหล่ และปวดมากเมื่อยกแขนขึนเหนือศีรษะ 

- เอามือพาดหลังไม่ได้ หรือเอามือติดตะขอเสื้อในไม่ได้
- เมื่อนอนตะแคงทับแขนข้างที่ไหล่ติด จะกระตุ้นให้เกิดอาการปวดมากขึ้น

โดยสามารถแบ่งระยะของข้อไหล่ติดได้เป็น 3 ระยะ


ระยะที่ 1 : freezing stage

ซึ่งเป็นระยะเริ่มต้นของผู้ที่เริ่มมีภาวะข้อไหล่ติด โดยจะมีอาการปวดขณะเคลื่อนไหวข้อไหล่ และปวดมากขึ้นเมื่อพยายามขกแขนขึ้นเหนือศีระษะ แต่ระยะนี้จะยังไม่รู้สึกถึงภาวะข้อไหล่ติดอย่างเด่นชัด หากเข้ารับการรักษาทางกายภาพบำบัดในระยะนี้จะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะข้อไหล่ติดที่มากขึ้นได้ หรือหมั่นยกแขน แกว่งแขนไปข้างหน้าและไปข้างหลังให้สุดวันละ 100 ครั้งหรือมากกว่าได้จะดีมากๆเลยนะครับ ซึ่งในระยะนี้กินเวลาตั้งแต่ 6 สัปดาห์ถึง 9 เดือนเลยที่เดียว

ระยะที่ 2 : frozen stage

หากผู้ป่วยเป็นในระยะที่ 1 แล้วไม่เข้ารับการรักษาหรือปล่อยทิ้งไว้จะเข้าสู่ระยะ frozen stage หรือระยะติดแข็งนั่นเอง ระยะนี้ชื่อมันก็บอกชัดแล้วเนอะว่า เป็นระยะที่ข้อไหล่ติดแข็ง องศาการเคลื่อนไหวน้อยลง รู้สึกตึงรั้งกล้ามเนื้อรอบๆข้อไหล่จนถึงต้นคอ อาการปวดจะลดน้อยลงแล้วในระยะนี้ จากเดิมที่อยู่ในระยะที่ 1 อยู่เฉยๆก็ปวด แต่ระยะที่ 2 อยู่เฉยๆอาการปวดอาจหายไปแล้ว แต่ถ้าฝืนดัดแขนก็มีอาการปวดอยู่บ้าง ซึ่งระยะนี้จะกินเวลา 4-9 เดือน

ระยะที่ 3 : thawing stage

และแล้วก็มาถึงระยะสุดท้าย (เย้) นั่นก็คือระยะ thawing stage ถ้าแปลตรงตัวก็คือ"ระยะละลาย"ครับ อ่านดูแล้วมันแหม่งๆเนอะ ฮาๆ สรุปง่ายๆระยะนี้องศาการเคลื่อนไหวของข้อไหล่จะน้อยลงเรื่อยๆจนส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างชัดเจน จะหยิบจะยกของก็ทำได้ลำบากมากขึ้น จะสวมเสื้อก็ทำไม่ได้ ติดตะขอเสื้อในก็ไม่สะดวก หวีผมก็ลำบาก จะสระผมก็สระได้แค่มือเดียวเพราะแขนอีกข้างยกไม่ได้ สาระพัดปัญหาจะมาในระยะนี้แหละครับ แต่เมื่อฝนตกฟ้าย่อมสดใส เช่นกันครับ เมื่อถึงจุดที่ไหล่ติดสุดๆแล้ว ร่างกายก็จะเริ่มฟื้นฟูอาการไหล่ติดจะค่อยๆน้อยลง แต่ถึงบอกว่าน้อยลงนี่ก็ใช้เวลาพอสมควรเลยนะครับ นั่นคือ 5-26 เดือนแนะ ถ้าผู้ป่วยไม่เข้ารับการรักษาเลยปล่อยให้อาการมันหายไปเองเบ็ดเสร็จก็ใช้เวลาร่วมๆ 3 ปีแน่ะ (โอ้ แม่เจ้า)

การักษา


1) แพทย์แผนปัจจุบัน 

โดยการรักษาหลักๆนั้นคือการทานยา ฉีดยา และการผ่าตัดส่องกล้องเพื่อตัดขยายเอ็นรอบข้อไหล่ให้เคลื่อนไหวได้ดีขึ้น


2) กายภาพบำบัด
การทำกายภาพจะใช้การดัด ดึงข้อไหล่เพื่อเพิ่มองศาให้เคลื่อนไหวได้มากขึ้น อาจใช้เครื่องมือบางประเภทเข้าช่วย เช่น ultrasound, short wave, laser เป็นต้น ร่วมกับการสอนท่าบริหารข้อไหล่ให้กลับไปทำเองที่บ้าน

ซึ่งแนวทางการรักษาแต่ละแบบอาจจะต่างกันออกไปแต่มีจุดประสงค์เดียวกันคือการเพิ่มองศาของข้อไหล่ให้หายเป็นปกตินั่นเอง (แต่จะแนะนิดนึงว่า การผ่าตัดขอให้เป็นตัวเลือกสุดท้ายน้อ)

 

คลิป : วิธีแก้ไหล่ติด (5 วิธี บริหารข้อไหล่ เพื่อแก้ปัญหาข้อไหล่ติดแข็ง (Part 1))

คลิป : วิธีดัดไหล่ แก้ไหล่ติด (5 วิธีดัดไหล่ เพื่อรักษาโรคข้อไหล่ติด (Part 2))

 

เครดิตภาพ

- http://ibccare.co.uk/frozen-shoulder-treatment-london-marylebone-notting-hill

- https://www.pthealth.ca/blog/seeking-care-can-shorten-recovery-time-for-frozen-shoulder/

- https://www.inlifehealthcare.com/blog/understand-frozen-shoulder-treatment/#.VyQlvfl97IU

07 มีนาคม 2560

ผู้ชม 158876 ครั้ง

    Engine by shopup.com